สตรีด้อยโอกาส เยาวสตรีกลุ่มเสี่ยง สตรีและครอบครัวที่ประสบปัญหาทางสังคม สตรีที่ประสบปัญหาความรุนแรงในครอบครัว สตรีที่ตั้งครรภ์ไม่พึงประสงค์ จะได้รับ
การฝึกอบรมอาชีพและพัฒนาคุณภาพชีวิตในศูนย์เรียนรู้การพัฒนาสตรีและครอบครัว ทั้ง ๘ แห่ง ได้แก่
มี 8 แห่ง
มีทั้งหลักสูตรระยะสั้น ๑ เดือน ๓ เดือน และหลักสูตร ๖ เดือน ภายหลังการอบรมมีบริการจัดหางานให้ตามความสมัครใจ
สมัครได้ที่ศูนย์การเรียนรู้ฯ ทั้ง 8 แห่ง
มีบริการที่จัดให้ระหว่างการฝึกอบรม ดังนี้ ที่พักพร้อมอาหาร ๓ มื้อ ของใช้ส่วนตัวที่จำเป็น กีฬาและกิจกรรมนันทนาการ บริการด้านสังคมสงเคราะห์ บริการด้านรักษาพยาบาล บริการด้านชุดฟอร์ม อุปกรณ์ประกอบการเรียนตลอดการฝึกอบรม บริการอินเตอร์เน็ต และบริการจัดหางานหลังจบหลักสูตร
มีหลายหลักสูตรสามารถสอบถามได้ทางศูนย์เรียนรู้ฯ ทั้ง ๘ แห่ง
ผู้ที่มีสิทธิขอรับเงินอุดหนุนกรมกิจการสตรีและสถาบันครอบครัว มีดังนี้
(1) กลุ่ม/ชมรมสตรีกลุ่มสตรีตั้งแต่ห้าคนขึ้นไป และชมรมสตรีตั้งแต่สิบคนขึ้นไป จะต้องดำเนินงานในรูปแบบของคณะบุคคล เช่น มีประธานกลุ่มหรือประธานชมรม กรรมการ เลขานุการ มีวัตถุประสงค์ของกลุ่มหรือชมรมที่ชัดเจน ไม่ใช่กลุ่มหรือชมรมที่จัดตั้งขึ้นเฉพาะกิจเป็นครั้งคราว แต่ได้จัดตั้งและดำเนินการมาเป็นเวลาพอสมควร ที่สำคัญกลุ่ม/ชมรมสตรีจะต้องมีผลงานหรือวัตถุประสงค์ในการดำเนินงานเพื่อส่งเสริมพัฒนาสตรีและครอบครัวด้วย และหมายรวมถึงกลุ่ม/องค์กรที่จดทะเบียนเป็นองค์กรสาธารณประโยชน์
(2) องค์กรเอกชน องค์กรเอกชนซึ่งเป็นองค์กรที่มิใช่นิติบุคคล มีคณะบุคคลหรือผู้บริหารจัดการองค์กรมีวัตถุประสงค์ขององค์กรที่ชัดเจน ไม่ใช่องค์กรที่ตั้งขึ้นเฉพาะกิจเป็นครั้งคราวแต่จัดตั้งและดำเนินการมาเป็นเวลาพอสมควรที่สำคัญองค์กรเอกชนนั้นจะต้องมีผลงานหรือวัตถุประสงค์ในการดำเนินงานเพื่อส่งเสริมพัฒนาสตรีและครอบครัวด้วย
(3) มูลนิธิหรือสมาคมมูลนิธิหรือสมาคม ซึ่งเป็นองค์กรที่เป็นนิติบุคคล จดทะเบียนจัดตั้งตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มีคณะบุคคลหรือผู้บริหารจัดการองค์กรมีวัตถุประสงค์ขององค์กรที่ชัดเจน มีรูปแบบการท างานที่ชัดเจนตามวัตถุประสงค์ ไม่ใช่องค์กรที่ตั้งขึ้นเฉพาะกิจเป็นครั้งคราว แต่จัดตั้งและดำเนินการมาเป็นเวลาพอสมควร ที่สำคัญมูลนิธิหรือสมาคมนั้นจะต้องมีผลงานหรือวัตถุประสงค์ในการดำเนินงานเพื่อส่งเสริมพัฒนาสตรีและครอบครัวด้วย
(4) ศูนย์พัฒนาครอบครัวในชุมชน เป็นศูนย์กลางการรวมตัวของประชาชนในหมู่บ้านหรือชุมชน มีการบริหารจัดการและดำเนินการในรูปของคณะทำงานที่ประกอบด้วยตัวแทนขององค์กร กลุ่มประชาชน และเครือข่ายครอบครัวในชุมชน โดยอยู่ภายใต้การกำกับดูแลและการส่งเสริมสนับสนุนขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นหรือหน่วยงานของรัฐ ซึ่งศูนย์พัฒนาครอบครัวในชุมชนที่ประสงค์จะขอรับเงินอุดหนุนจะต้องมีผลงานหรือวัตถุประสงค์ในการดำเนินงานเพื่อส่งเสริมพัฒนาสตรีและครอบครัวด้วย
(5) องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น หมายความถึง เทศบาล องค์การบริหารส่วนจังหวัด องค์การบริหารส่วนตำบล กรุงเทพมหานคร และเมืองพัทยา ซึ่งองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่ประสงค์จะขอรับเงินอุดหนุนจะต้องมีผลงานหรือวัตถุประสงค์ในการดำเนินงานเพื่อส่งเสริมพัฒนาสตรีและครอบครัวด้วย
(6) หน่วยงานของรัฐหน่วยงานของรัฐ มีความหมายอย่างกว้าง กล่าวคือ หมายความว่า กระทรวง ทบวง กรมหรือส่วนราชการที่เรียกชื่ออย่างอื่นซึ่งมีฐานะเป็นกรม ราชการบริหารส่วนภูมิภาค ราชการบริหารส่วนท้องถิ่น รัฐวิสาหกิจ หรือหน่วยงานอื่นของรัฐที่การดำเนินงานเกี่ยวกับการส่งเสริมพัฒนาสตรีและครอบครัว ซึ่งหน่วยงานของรัฐดังกล่าวหากประสงค์จะขอรับเงินอุดหนุนจะต้องมีผลงานหรือวัตถุประสงค์ในการดำเนินงานเพื่อส่งเสริมพัฒนาสตรีและครอบครัวด้วย
ประเภทโครงการที่เสนอขอรับเงินอุดหนุนลักษณะของโครงการที่ยื่นคำขอรับการสนับสนุนเงินอุดหนุน จะต้องมีลักษณะของโครงการ ดังนี้
1) โครงการของภาคเอกชน (โครงการของกลุ่มสตรี ชมรมสตรี องค์กรเอกชน มูลนิธิ สมาคม หรือศูนย์พัฒนาครอบครัวในชุมชน)
(1) เป็นโครงการที่ไม่ขัดต่อนโยบายของรัฐบาล แผนพัฒนาสตรี นโยบายและยุทธศาสตร์การพัฒนาสถาบันครอบครัว หรือนโยบายและยุทธศาสตร์ของ สค.
(2) เป็นโครงการที่มีทุนอยู่บางส่วน
(3) เป็นโครงการที่ไม่ได้รับงบประมาณจากหน่วยงานของรัฐหรือแหล่งทุนอื่น หรือได้รับแต่ไม่เพียงพอ
(4) เป็นโครงการที่มีลักษณะอย่างหนึ่งอย่างใดตามที่กำหนดในข้อ 7 ของระเบียบกรมกิจการสตรีและสถาบันครอบครัวว่าด้วยเงินอุดหนุน พ.ศ. 2560
2) โครงการของภาครัฐ (องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น หรือหน่วยงานของรัฐ)
(1) เป็นโครงการที่มีทุนอยู่แล้วบางส่วนและเป็นโครงการที่ริเริ่มใหม่ หรือ
(2) เป็นโครงการที่ไม่สามารถของบประมาณปกติได้หรือได้รับงบประมาณแต่ไม่เพียงพอและ
(3) เป็นโครงการที่มีลักษณะอย่างหนึ่งอย่างใดตามที่กำหนดในข้อ 7 ของระเบียบกรมกิจการสตรีและสถาบันครอบครัว ว่าด้วยเงินอุดหนุน พ.ศ. 2560
1) ประสบปัญหาความรุนแรงในครอบครัวติดต่อ ศูนย์ปฏิบัติการคุ้มครองบุคคลในครอบครัว กรุงเทพมหานคร 02-6425048 ในเวลาราชการ
2) พบเห็นการกระทำความรุนแรงต่อเด็ก สตรี และครอบครัว โทร 1300 ศูนย์ช่วยเหลือสังคม หรือ สำนักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัด 76 จังหวัด
ผู้ที่จะสมัครเป็นสมาชิกต้องมีคุณสมบัติ อะไรบ้าง
บุคคลใดเห็นว่าตนได้รับหรือจะได้รับความเสียหายจากการกระทำในลักษณะที่เป็นการเลือกปฏิบัติโดยไม่เป็นธรรมระหว่างเพศและมิใช่เป็นเรื่องที่มีการฟ้องร้องเป็นคดีอยู่ในศาลหรือที่ศาลพิพากษาหรือมีคำสั่งเด็ดขาดแล้วให้มีสิทธิยื่นคำร้องต่อกรมกิจการสตรีและสถาบันครอบครัว (คณะกรรมการ วลพ.) เพื่อพิจารณาวินิจฉัยว่ามีการเลือกปฏิบัติโดยไม่เป็นธรรมระหว่างเพศหรือไม่
(1) ค่าขาดประโยชน์ทำมาหาได้ในระหว่างที่ไม่สามารถประกอบการงานได้ตามปกติ
(2) ค่าสูญเสียโอกาสที่เป็นค่าเสียหายในเชิงพาณิชย์ซึ่งสามารถคำนวณเป็นเงินได้
(3) ค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวข้องในการรักษาพยาบาลรวมทั้งค่าฟื้นฟูสมรรถภาพทางร่างกายและจิตใจ
(4) การชดเชยและเยียวยาในรูปแบบหรือลักษณะอื่น
ผู้ร้องอาจร้องด้วยวาจาต่อผู้รับคำร้องยื่นคำร้องด้วยตนเองส่งทางไปรษณีย์หรือยื่นผ่านช่องทางสื่ออิเล็กทรอนิกส์ก็ได้ในกรณียื่นคำร้องโดยส่งทางไปรษณีย์ให้ถือวันที่ที่ทำการไปรษณีย์ต้นทางประทับตรารับที่ซองหนังสือเป็นวันยื่นคำร้องในเขตกรุงเทพมหานครให้ยื่นหรือส่งคำร้องต่อกรมกิจการสตรีและสถาบันครอบครัว จังหวัดให้ยื่นหรือส่งคำร้องต่อศูนย์เรียนรู้การพัฒนาสตรีและครอบครัว สำนักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัด ในกรณีร้องด้วยวาจาให้ผู้รับคำร้องบันทึกถ้อยคำของผู้ร้องและให้ผู้ร้องและผู้รับคำร้องลงลายมือชื่อในคำร้องนั้นไว้เป็นหลักฐาน
(1) ชื่อและที่อยู่ของผู้ร้อง
(2) ชื่อและที่อยู่ของผู้ถูกร้อง
(3) ข้อเท็จจริงเกี่ยวกับสาเหตุที่เห็นว่าตนได้รับหรือจะได้รับความเสียหายในลักษณะที่เป็นการเลือกปฏิบัติโดยไม่เป็นธรรมระหว่างเพศ
(4) พยานหลักฐานที่เกี่ยวข้อง (ถ้ามี)
(5) คำขอหรือความประสงค์ของผู้ร้อง
(6) ลายมือชื่อของผู้ร้อง
(1) เพื่อกิจกรรมหรือกิจการที่เกี่ยวข้องกับการส่งเสริมความเท่าเทียมระหว่างเพศ
(2) เพื่อคุ้มครองและป้องกันมิให้มีการเลือกปฏิบัติโดยไม่เป็นธรรมระหว่างเพศ
(3) เพื่อช่วยเหลือชดเชยและเยียวยาหรือบรรเทาทุกข์แก่บุคคลซึ่งตกเป็นผู้เสียหายจากการเลือกปฏิบัติโดยไม่เป็นธรรมระหว่างเพศ
(4) เพื่อการสอดส่องดูแลและให้คำแนะนำหรือคำปรึกษาเกี่ยวกับการดำเนินงานของเจ้าหน้าที่ของรัฐและหน่วยงานของรัฐในการปฏิบัติตามพระราชบัญญัตินี้
(5) เพื่อส่งเสริมการศึกษาการวิจัยและการเผยแพร่ความรู้เกี่ยวกับการป้องกันมิให้มีการเลือกปฏิบัติโดยไม่เป็นธรรมระหว่างเพศ
(6) เพื่อการติดต่อและประสานงานกับบุคคลหน่วยงานหรือองค์กรต่างๆ ทั้งภาครัฐภาคเอกชนและภาคประชาชน
เข้าเมนูติดต่อสค. > สำหรับเจ้าหน้าที่ > เลือก Intranet
การร้องทุกข์ ร้องเรียน มีความจำเป็นต้องมีการเข้าสู่ระบบเนื่องจาก ทางเจ้าหน้าที่ของกรมกิจการสตรีและสถาบันครอบครัว สามารถติดตามเรื่องของผู้ที่มาร้องทุกข์ร้องเรียนได้ ส่วนเรื่องการสอบถามข้อมูลต่างๆ ไม่จำเป็นต้องมีการเข้าสู่ระบบ
อนุสัญญาว่าด้วยการขจัดการเลือกปฏิบัติต่อสตรีในทุกรูปแบบ เป็นอนุสัญญา ที่จัดทำขึ้นโดยสหประชาชาติ และได้รับความรับรองจากที่ประชุมสมัชชาแห่งสหประชาชาติ สมัยที่ 34 เมื่อวันที่ 18 ธันวาคม 2522 นับจากนั้นจนถึงปัจจุบัน ประเทศต่างๆ ให้สัตยาบัน (ratification) หรือภาคยานุวัติ (accession) อนุสัญญานี้แล้ว 185 ประเทศ ซึ่งประเทศไทยได้เข้าร่วมเป็นรัฐภาคีอนุสัญญา CEDAW ของสหประชาชาติ โดยวิธีภาคยานุวัติ มีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 8 กันยายน 2528 ส่งผลให้ประเทศไทยมีหน้าที่ในการดำเนินการเพื่อขจัดการเลือกปฏิบัติต่อสตรีทั้งในด้านนิติบัญญัติ ตุลาการ การบริหาร และมาตรการอื่นๆ และให้หลักประกันว่าสตรีจะต้องได้รับสิทธิประโยชน์และโอกาสต่างๆ จากรัฐบนพื้นฐานของความเสมอภาคกับบุรุษ ตามบทบัญญัติของอนุสัญญาฯ รวม 30 มาตรา โดยมาตราที่ 1-16 เป็นการระบุมาตรการในการดำเนินการเพื่อขจัดการเลือกปฏิบัติต่อสตรีในด้านต่างๆ ประกอบด้วย การให้ความหมาย “การเลือกปฏิบัติต่อสตรี” การเรียกร้องให้ประเทศภาคีดำเนินมาตรการต่างๆ เพื่อไม่ให้มีการเลือกปฏิบัติต่อสตรีในเรื่องการค้ามนุษย์ การมีส่วนร่วมในทางการเมืองการบริหาร สิทธิเกี่ยวกับสัญชาติ การศึกษา การจ้างงาน สุขภาพ เศรษฐกิจและสังคม สตรีชนบท และสิทธิความเสมอภาคในครอบครัวและการสมรส ส่วนมาตรา 17-30 เป็นการกำหนดขั้นตอนและกลไกในการติดตามการปฏิบัติงานตามอนุสัญญาฯโดยในส่วนของข้อสงวน (reservations) ที่ประเทศไทยได้ตั้งไว้ เมื่อเข้าเป็นภาคีเพื่อที่จะขอเป็นการยกเว้นไม่ผูกพันตามอนุสัญญาฯ เนื่องจากกฎหมายและกฎระเบียบต่างๆ ภายในประเทศยังไม่ได้รับการแก้ไขให้สอดคล้อง มี 7 ข้อ ได้แก่
อนุสัญญา 7 | เรื่องความเสมอภาคทางการเมืองและการรับตำแหน่งทางราชการ |
อนุสัญญาข้อ 9 | เรื่องการถือสัญชาติของบุตรที่เกิดจากหญิงไทย |
อนุสัญญาข้อ 11 | เรื่องสิทธิและโอกาสที่จะได้รับการจ้างงานชนิดเดียวกัน |
อนุสัญญาข้อ 15 | เรื่องการทำสัญญา |
อนุสัญญาข้อ 16 | เรื่องความเสมอภาคในด้านครอบครัวและการสมรส |
อนุสัญญาข้อ 29 | เรื่องการให้อำนาจศาลโลกในการตัดสินกรณีพิพาท |
ต่อมาได้มีการดำเนินการทางนิติบัญญัติ ตุลาการ การบริหาร และอื่นๆ ตามอนุสัญญาฯ ประเทศไทยจึงได้ขอยกเลิกข้อสงวนที่ตั้งไว้ตามมติคณะรัฐมนตรี จำนวน 6 ข้อ ดังนี้
ปัจจุบันยังคงเหลือข้อสงวนอีก 1 ข้อ ได้แก่ ข้อ 29 เรื่องการให้อำนาจศาลโลกในการตัดสินกรณีพิพาท