ปฏิบัติหน้าที่อย่างเต็มความสามารถ มุ่งประโยชน์ส่วนรวม มีเกียรติและศักดิ์ศรีแห่งความเป็นข้าราชการ ไม่ใช้หน้าที่และอำนาจเพื่อประโยชน์ส่วนตนหรือพวกพ้อง

“สตรีและครอบครัวมั่นคง สังคมเสมอภาค”

สค. ให้การต้อนรับ Lord Nick Herbert ผู้แทนพิเศษนายกรัฐมนตรีสหราชอาณาจักรด้านสิทธิของกลุ่มผู้มีความหลากหลายทางเพศ (LGBT+)

4 ต.ค. 2566

171 view

-

วันพุธที่ 4 ตุลาคม พ.ศ. 2566 เวลา 10:30 น. ณ ห้องประชุม DWF Meeting Room ชั้น 12 กรมกิจการสตรีและสถาบันครอบครัว นางสาวกรรณิกา เจริญลักษณ์ ผู้อำนวยการกองส่งเสริมความเสมอภาคระหว่างเพศ ให้การต้อนรับ ลอร์ด นิค เฮอร์เบิร์ต (Lord Nick Herbert) ผู้แทนพิเศษนายกรัฐมนตรีสหราชอาณาจักรด้านสิทธิของกลุ่มผู้มีความหลากหลายทางเพศ และคณะ วัตถุประสงค์เพื่อทำความเข้าใจเกี่ยวกับนโยบายและกระบวนการ ในการป้องกันความรุนแรงแก่กลุ่มผู้มีความหลากหลายทางเพศ รวมทั้งการร่วมมือกับภาคประชาสังคมเพื่อสนับสนุนการร่างกฎหมายปกป้องสิทธิของผู้มีความหลากหลายทางเพศ และให้ข้อเสนอแนะแก่รัฐบาลไทยเพื่อผลักดันกฎหมาย รวมถึงแลกเปลี่ยนประสบการณ์และมุมมองเกี่ยวกับกฎหมายกลุ่มผู้มีความหลากหลายทางเพศ และประเด็นอื่นที่เกี่ยวข้อง โดยมี ผู้บริหาร ข้าราชการ และผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง เข้าร่วมประชุมหารือดังกล่าว

ในการหารือร่วมกันครั้งนี้ ลอร์ด นิค เฮอร์เบิร์ต ได้แบ่งปันข้อมูลที่น่าสนใจเกี่ยวกับการผลักดันสิทธิและความเท่าเทียมของกลุ่มผู้มีความหลากหลายทางเพศในสหราชอาณาจักร ได้แก่ การขับเคลื่อนผ่านกลไกกฎหมาย โดยมีการผ่านกฎหมายเฉพาะด้านหลายฉบับ เช่น พ.ร.บ.การรับรองเพศสภาพ (The Gender Recognition Act 2004) กฎหมายป้องกันการดูหมิ่นหรือแสดงความเกลียดชังต่อกลุ่มผู้มีความหลากหลายทางเพศ (Hate Crime Law) รวมถึง พ.ร.บ.ความเท่าเทียม (The Equality Act 2010) ที่ให้ความคุ้มครองครอบคลุมทุกกลุ่มบุคคล ทั้งนี้ ลอร์ดนิคได้เน้นย้ำความสำคัญของการคุ้มครองสิทธิ และการส่งเสริมสิทธิในการกำหนดชะตากรรมตัวเอง (Self-Determination) โดยมีการหยิบยกตัวอย่างของกลุ่มคนข้ามเพศ (Transgender) ที่ถึงแม้ว่าจะยังมีข้อถกเถียงกันอยู่หลายประเด็น แต่ก็อยากให้สังคมเปิดกว้างและพิจารณากันด้วยข้อเท็จจริงมากกว่าตัดสินโดยใช้อารมณ์ ซึ่งทางสหราชอาณาจักรนั้นได้มีการทำสำมะโนประชากรเพื่อเก็บข้อมูลเชิงสถิติ และมีการศึกษาผลกระทบของกลุ่มเปราะบาง อย่างเช่นการจัดสัมมนาเพื่อรับฟังปัญหาของกลุ่ม LGBT+ ไร้บ้าน ลอร์ดนิคให้ข้อคิดเห็นว่า ในการขับเคลื่อนประเด็นด้านความเท่าเทียมนั้น จะใช้แค่กลไกกฎหมายอย่างเดียวไม่ได้ แต่ต้องอาศัยการออกแบบกลไกติดตามผล ภาวะผู้นำและการมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่ายในการสร้างความเปลี่ยนแปลง รวมไปถึงการสร้างการตระหนักรู้ทำความเข้าใจกับสังคม

ประชาสัมพันธ์ อื่นๆ

Share