
Gender Entertainment

“ฮอลแลนด์” ศิลปินเกาหลีที่แหวกม่านประเพณีก้าวข้าม “ค่านิยมความเป็นชาย”
ประเทศไทยเราได้กลายเป็น “ศูนย์กลางการผลิตคอนเทนต์วายๆ” (Y ย่อจาก Yaoi ในภาษาญี่ปุ่น หมายถึงชายรักชาย) ทั้งซีรีส์วาย และหนังวาย ที่ก้าวกระโดดจากปี พ.ศ.2564 ที่มีเพียง 30 กว่าเรื่อง เป็น 70 เรื่องในปี พ.ศ. 2565 ส่วนปีนี้ (พ.ศ. 2566) ครึ่งปีผ่านไปก็ปาเข้าไปเกือบ 30 เรื่องแล้ว เชื่อว่าพอถึงสิ้นปี จำนวนน่าจะใกล้เคียงกับปีที่แล้ว เห็นคอนเทนต์วายไทยพีกขนาดนี้
มีหรือที่ประเทศต้นตำรับเคป๊อปอย่างเกาหลีใต้ที่ส่งซีรีส์ไปโด่งดังทั่วโลกจะยอมแพ้ ปีที่แล้วเกาหลีใต้ก็สู้ตายไทยแลนด์จ้ะ ส่งซีรีส์วายออกมารัวๆ นับสิบเรื่องเพียงแต่วายเกาหลียังไม่ปังเท่าวายไทยนัก เพราะนอกจากแต่ละอีพีจะสั้น ดูแล้วไม่อิ่ม คู่จิ้นจะจิ้นกันเฉพาะในซีนซีรีส์แค่นั้้นแล้ว (ส่วนพี่ไทยเรานอกซีนก็ทำให้ผู้ชมฟินแล้ว ฟินอยู่ และฟินต่อไม่รอแล้วนะ) “องค์ประกอบบางอย่างของสังคมเกาหลี” ยังไม่เอื้้อเท่าไทยแลนด์ดินแดนแห่งรอยยิ้ม โดยเฉพาะเรื่อง “ค่านิยมเชิดชูความเป็นชาย” ที่ทำให้กลุ่มคนหลากหลายทางเพศที่เราเรียกว่าเกย์นั้น ถูกโยนกระเด็นไปนอกกรอบของสังคม (ไม่ใช่แค่ “คนชายขอบ” )
“ค่านิยมเชิดชูความเป็นชาย” เป็นอย่างไร ? คลิกอ่านต่อที่นี่

โครงการ “เราเท่าเทียม : หลากความคิดหลายเรื่องราวบนจุดร่วมเดียวกันเพื่อความเท่าเทียมระหว่างเพศ”

ผลิตโดย : มูลนิธิส่งเสริมสวัสดิการสังคม

ได้รับการสนับสนุนงบประมาณโดย : กองทุนส่งเสริมความเท่าเทียมระหว่างเพศ
.

ติดตามข่าวสาร สค.ได้ที่
LINE Official: @linefamily